วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความรู้เบื้องต้นของกีต้าร์

ความรู้เบื้องต้นของกีต้าร์


สำหรับมือใหม่หัดดีด หรือสำหรับมือเก่าที่ยังไม่ค่อยแน่ใจในคำเรียกต่างๆ เราก็เลยหาเอามาให้อ่านกันครับ

BODY STYLES

ในอคูสติคกีต้าร์ขนาดและลักษณะเป็นตัวบ่งบอกเสียงแบบคร่าวๆ แน่นอนว่าขนาดที่ใหญ่กว่ามักจะได้เสียงที่ดังและมีมวลมากกว่า ขนาดของกีต้าร์มีหลากหลาย มีการวัดขนาดความกว้างช่วงบน และช่วงล่าง หรือ แม้แต่ขนาดความยาวคอที่ต้องสัมพันธ์กัน และอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ใหญ่ได้ดังนี้

PARLOR

อาจมีข้อยกเว้นในบางรุ่นบางยี่ห้อ แต่เราสามารถบอกว่า PARLOR คือขนาดกีต้าร์ที่เล็กที่สุดจากการวัดขนาดความกว้างชวงล่างได้ที่13 นิ้ว และมี 12เฟรท Parlor มักให้เสียงที่เหมาะกับคนที่เล่น ฟิงเกอร์ ฟิ๊กกิ้ง เนื่องจากขนาดที่เล็กจึงเหมาะกับผู้เล่นที่ตัวเล็กตามไปด้วย

0, 00, 000, และ OM (Concert, Grand Concert, Auditorium, และ Orchestra Model)

ชื่อที่เห็นเป็นการบอกขนาดของกีต้าร์ที่มีขนาดเล็กไปถึงขนาดกลาง มาร์ตินเป็นผู้สร้างสรรค์โดยใช้คำเรียกเหล่านี้ 0, 00, aและ 000 (โอ, ดับเบิ้ล โอ, ทรบเปิ้ล โอ), 
ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการก็มีคือ concert, grand concert, และ auditorium (หรือเรียกว่า grand auditorium ก็ได้) 

ขนาด 13 1/2 นิ้ว คือความกว้างด้านล่างที่วัดได้คือขนาดของ 0-size ซึ่งถูกสร้างขึ้นในกลาง ศตวรรษที่ 19th ณ วันนี้ดูแล้วอาจคาบเกี่ยวกับ parlor

ขนาด 14 1/8 นิ้ว คือความกว้างด้านล่างที่วัดได้คือขนาดของ 00size ขนาดทำให้เสียงมันมีพลังมากขึ้น เล่นได้หลากหลายสไตล์มากขึ้น ทำให้เสียงมี บาลานซ์ ขึ้น อีกทั้งยังให้เสียงอคูสติคที่ดี และให้การควบคุมที่ดีเมื่อใช้ร่วมกับปิ๊กอัพด้วย

ขนาด 15 นิ้ว คือความกว้างด้านล่างที่วัดได้คือขนาดของ 000-size และนี่คือขนาดที่เป็นต้นแบบของกีต้าร์ขนาดเล็กอีกมากมาย ซึ่งให้เสียงที่มีความสมดุลมาก ระหว่างความดัง เสียง แหลม และ เสียงต่ำที่เหมาะสมกัน รวมไปถึงขนาดที่เหมาะเล่นง่าย 
ส่วนคนที่สงสัยเรื่อง OM นั้นเป็นคำที่นิยามโดย มาร์ติน ขนาดนั้นเทียบได้กับรุ่น OOO แต่จะมีความยาวคอ และคอที่กว้างวัดที่ nut (OMเท่ากับ 1 3/4 inches สำหรับ OOO 1 11/16 )

SMALL JUMBO

ขนาดของ SMALL JUMBO ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน จากการใช้รูปร่างของ JUMBO มาย่อให้เล็กลง โดยวัดความกว้างได้ 16 นิ้ว small jumbo อาจดูคล้าย 000 ขยายส่วน โดยมีช่วงเองที่ขอดกว่า และมีความหนาที่มากกว่า 000 และ OM ซึ่งได้รับความนิยมมากสำหรับคอ ฟิงเกอร์สไตล์

DREADNOUGHT


สร้างขึ้นโดย มาร์ตินในช่วงปี 1920  dreadnought ได้รับความนิยมจนกลายเป็นทรงที่เจนตา มีขนาดวัดได้ 15 5/8 นิ้ว ช่วงเอวที่ดูไม่ขอดนัก อีกทั้งมีความหนามีมากกว่ารุ่นอื่นๆ ทำให้มีเสียงที่ดัง และ อิ่มมากขึ้นทำให้เหมาะกับเพลงที่หลากหลาย โดยเฉพาะ bluegrass อย่างไรก็ดีมันสามารถนำไปใช้ได้กับการ strumming และ fingerstyle ได้เหมือนกัน

JUMBO

เป็นขนาดที่สร้างโดย Gibson ในช่วงปี 1937 กับรุ่น J-200 กับขนาดต่างๆที่กล่าวมามักมีแบบเพลงที่เหมาะสมกับขนาดและรูปร่าง แต่ดูเหมือนว่า jumbo มีความหลากหลายมากที่สุด หากวัดขนาดตามการสร้างสรรค์ของ Gibson คือขนาด 16 11/16 นิ้ว เหมาะกับเพลงทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ตีคอร์ด หรือแม้ ฟิงเกอร์ปิ๊กกิ้ง



BODY WOODS

หากไม่นับกีต้าร์ที่ทำจาก ไฟเบอร์ กีต้าร์ส่วนใหญ่ทำมาจาก ไม้ อคูสติกกีต้าร์นั้น ไม้หน้ามีความสำคัญมาก เพราะสายที่พาดผ่านจนไปถึง บริดจ ์
หลักใหญ่ของการใช้ไม้ก็คือ หากเป็นไม้หน้า ก็จะต้องเลือกไม้ที่มีความแข็งแรง แต่มี น้ำหนักเบาี spruce จึงได้รับความนิยมสูง และก็มีบ้างที่ใช้ cedar, redwood, mahogany, หรือ  koa ส่วนไม้ด้านข้างและหลังนั้นช่วยสร้างโทนเสียงให้กับเสียงโดยรวม ไม้ที่ได้รับความนิยมจึงเป็นไม้ที่แข็งและไม้ที่ได้รับคววามนิยมมากคือ rosewood, mahogany, และ maple

LAMINATED vs. SOLID


และนี่เป็นอีกอย่างที่คนคำนึงถึง ความเป็นไม้แผ่นเดียว(solid)  และการนำไม้มาอัดซ้อนกัน (laminated) ไม้อัดนั้นสามารถเลือกให้ไส้กลางเป็นไม้ที่ไม่มีคุณภาพมากนักจึงทำให้มีราคาที่ถูกลง
สำหรับไม้หน้า ไม้ที่เป็นชิ้นเดียวจึงถูกนำมาใช้มากที่สุด เพราาะหากเป็นไม้อัดซ้อนกัน การสั่นสะเทือนจะทำได้ไม่ดีนัก อีกทั้งมีความสำคัญต่อโครงสร้าง และ ต่อคุณภาพเสียงมากอีกด้วย ไม้ชิ้นเดียวจะมีความเป็นธรรมชาติอีกข้อหนึ่งคือ เสียงจะพัฒนาไปตามกาลเวลา
สำหรับไม้ข้างและหลัง การสั่นสะเทือนนั้นมีผลน้อยลงกว่าการสะท้อนจึงสามารถเลือกใช้ไม้แบบอัดซ้อนกันได้ อีกทั้งปัญหาการแตกร้าวก็ลดน้อยลงตามไปด้วย จึงเป็นข้อดีของไม้ประเภทนี้
คุณสามารถเห็นรอยซ้อนทับกันที่ขอบ ซาว์นโฮล หากเป็นไม้อัดซ้อนกันที่ไม้หน้า ส่วนไม้หลังและข้างก็สามารถเห็นได้เช่นกันเมื่อถอดหมุดที่ใต้กีต้าร์ออก(endpin)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น